คุณประโยชน์ที่มีอยู่ในหอยนางรมหากกินอย่างถูกวิธี

178632-attachment
หอยเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางอาหารไม่น้อยกว่าสัตว์น้ำจำพวกปลา ปู และกุ้ง มนุษย์กินหอยเป็นอาหารมาเป็นเวลายาวนาน โดยเฉพาะชุมชนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล จากอดีตต่อเนื่องถึงปัจจุบัน เนื่องจากหอยทะเลทุกชนิดกินเป็นอาหารได้ อาจมีความแตกต่างกันในเรื่องของรสชาติ อันเนื่องมาจากลักษณะของเนื้อเยื่อที่อ่อนนุ่ม แข็งกระด้าง เหนียว หรือมีความพอดี โดยทั่วไปหอยที่เติบโตช้าหรือมีอายุมาก เนื้อมักจะมีความเหนียวมากกว่าหอยที่โตเร็ว พฤติกรรมและอาหารที่หอยกิน ก็มีส่วนที่ทำให้รสชาติของหอยแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน

หอยนางรม เป็นอาหารทะเลที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เป็นอาหารที่จัดได้ว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง ส่วนเปลือกหอยยังใช้ทำปูนขาว ซึ่งใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง การเกษตรกรรม อุตสาหกรรมหลายประเภท เนื้อหอยนางรมนอกจากจะใช้รับประทานสดและปรุงอาหารได้หลายอย่างแล้วยังแปรรูปเป็นอาหารสำเร็จรูปได้อีก เช่นหอยนางรมดอง หอยรมควัน และสกัดเป็นน้ำมันหอย หอยนางรมพบอยู่ทั่วไปตามบริเวณน้ำตื้นชายเกาะ ชายฝั่งทะเล แหล่งน้ำที่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเล หอยนางรมมีหลายชนิดที่พบในประเทศไทย เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร เป็นแหล่งของวิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง วิตามินบีสาม วิตามินซี และวิตามินดี อย่างไรก็ตามอาหารดิบอาจมีแบคทีเรียผู้ที่ป่วยด้วยโรคตับ มะเร็งโรคระบบภูมิคุ้มกัน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานหอยนางรมสด

ผลผลิตของหอยนางรมมีทั้งที่เก็บจากธรรมชาติและการทำฟาร์ม เป็นหอยที่มีการเลี้ยงตามชายฝั่งทะเล และอ่าวที่มีคลื่นลมไม่แรงนัก การทำฟาร์มอาจใช้วิธีปักหลักปูนให้ลูกหอยมาเกาะติดหรือเลี้ยงแบบแขวน โดยนำลูกหอยมาติดกับเส้นเชือก แล้วนำไปแขวนในทะเล แหล่งเลี้ยงหอยนางรม ได้แก่ จังหวัดที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย และภาคใต้ ส่วนหอยนางรมขนาดใหญ่ หรือที่เรียกกันว่า หอยตะโกรม มีเลี้ยงกันมากที่อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดเป็นอาหารทะเลที่มีชื่อเสียงของจังหวัด หอยนางรมมีเนื้อนิ่มแต่ไม่เปื่อยยุ่ย ส่วนมากนิยมบริโภคสด ซึ่งจำหน่ายในลักษณะหอยมีชีวิตทั้งเปลือก หรือเนื้อหอยแช่เย็น เนื้อหอยยังนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ ในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันหอย และซอสปรุงรสที่เป็นสินค้าส่งออกของประเทศ นอกจากนี้ยังนำมาแปรรูป เช่น หอยนางรมดอง หอยนางรมรมควันแช่น้ำมันบรรจุกระป๋อง

This entry was posted in อินเตอร์เน็ต and tagged . Bookmark the permalink.

Comments are closed.